![](https://vipautogas.com/home/wp-content/uploads/ngg_featured/vippics00115.jpg)
รับติดตั้งแก๊สทุกยี่ห้อ
ในปีก่อนทางเว็บได้เคยเสนอวิธีการติดตั้งก๊าซรถยนต์ ในคอลัมน์ DIY ในรูปแบบของพลังงานทางเลือก ด้วยก๊าซปิโตเลียมเหลวหรือ LPG (ส่วนถ้าก๊าซธรรมชาติจะเรียกว่า NGV) รถที่นำมาเป็นต้นแบบตอนนั้น (หนู) คือ A31 เครื่อง 1JZ-GE หลังจากนั้นก็มีท่านสมาชิก และผู้ที่สนใจที่คิดจะติดตั้งเองจำนวนมาก Email เข้ามาสอบถามบ้าง โทรศัพท์เข้ามาสอบถามบ้าง กลายเป็นที่สนอกสนใจกันเป็นการใหญ่ ในคราวนี้จึงถือโอกาสแนะนำวิธีติดตั้งเสียใหม่ (เอาแบบให้หายสงสัย อ่านจบแล้วทำใช้เองได้ทันที ตามสไตล์ www. thaispeedcar.com ผู้เล่นเว็บนี้ต้องทำเองได้ ) ในรูปแบบ Step-by-Step พร้อมคำอถิบาย ข้อควรระวัง และมาตรฐานการติดตั้งต่างๆ เพื่อผู้ที่สนใจติดตั้งเอง และช่างที่ติดตั้ง ถือเป็นมาตรฐานในการติดตั้งก๊าซที่ใช้ในรถยนต์ แบบ LPG ระบบ Fix mixer หรือระบบดูด ตอนที่ 1 โดยได้รับการอนุเคราะห์จากท่านสมาชิกนำรถต้นแบบมาติดตั้งให้ชมกันเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีข้อแม้อยู่ว่าต้องเป็นรถ STD แบบบ้านๆ ใช้งานทุกวัน เน้นความประหยัด ในจำนวน 2 คันคือ Toyota Colona เครื่อง 4A-FE และ Nissan Sunny B14 เครื่อง GA16DE ผ่านการใช้งานราว 200,000 กิโลเมตรเท่าๆกัน ประกอบไปพร้อมๆกัน
STEP 1
จัดหาอุปกรณ์การติดตั้ง
ในครั้งนี้ได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานกว่าเดิม (ชนิดมาตรฐานสูง ติดตั้งง่าย และปรับจูนง่ายที่สุด) ประกอบด้วย
1. หม้อต้ม Tomasetto Achille ขนาด 140 Hp (140 แรงม้า) รุ่นนี้ดีมีกรองก๊าซ และโซลินอยติดตั้งมาให้ในตัว
2. ถังก๊าซขนาด 58 ลิตร (น้ำ)ของ Macnate ความหนา 2.5 cm น้ำหนัก 20 กก. สีเทาดำ เน้นความสวยงาม
3. มัลติวาล์วของ Tomasetto Achille แบบเกจ์วัดในตัว
4. มิกเซอร์แบบดูด ขนาดสำหรับเครื่อง 1600 ซีซี 1 ตัว (Colona) และ 2 ตัว (Sunny B14)
5. สายเติมก๊าซแบบอ่อนไฮโดริก H-D อย่างดี ขนาด 1.5 เมตร (Sunny) และ 2.0 เมตร (Colona)
6. หัวเติมก๊าซแบบทองเหลือง
7. ท่อก๊าซแรงดันสูง แบบทองแดงเบอร์ 18 อย่างหนา มาตรฐานการติดมีปลอกหุ้ม
8. วาล์วปรับกลาง หรือ วาล์วปรับก๊าซแบบมือหมุน
9. ท่อน้ำเลี้ยงหม้อต้มอย่างหนา 2 ชั้น ทนความร้อนสูง ยาว 3 เมตร
10. ท่อส่งก๊าซเข้ามิกเซอร์ มาตรฐานท่อน้ำมันเบนซิล ยาว 1 เมตร
11. ท่อระบายไอ หรือท่อโปโลย่นอย่างดี จำนวน 3 เมตร
12. สวิทย์ก๊าซ แบบออโต้ (งานนี้ทางเว็บได้เลือกของ PG3 ราคาราว 6XX บาท สำหรับ Sunny และ A.E.B ราคาราว 12XX บาท สำหรับ Colona มาลองเปรียบเทียบกัน)
รูปยางรอง และเหล็กรองที่ตัดไว้เพื่อใช้รองตัวถังรถ และ การหาตำแหน่งติดตั้งถัง
รูปการเหล็กฉากรองตัวถัง และ การสร้างขาเหล็กหนุนให้ถังสูงขึ้นเพื่อหลบยางอะไหล่
STEP 2
ติดตั้งถังก๊าซ
ขั้นตอนแรก เป็นการสร้างขายึดถังก๊าซ นำถังเข้าจุดยึดท้ายรถ หาตำแหน่งเจาะรูยึดถัง ตามขาถังที่ติดมาให้ครบทั้ง 4 รู ในจุดที่ยึดกับตัวถังที่แข็งแรงที่สุด
การติดตั้ง
1. ต้องใช้แผ่นเหล็กรองด้านล่างของฐานถังก๊าซ หนาอย่างน้อย 2 – 3 มิล กว้าง X ยาวอย่างน้อย 1 – 2 นิ้ว (การใช้แหวนอีแป๊ หรือน๊อตยึดเพียวๆ เป็นสิ่งที่ไม่แน่หนา เพราะตัวถังรถมีความเปราะบางมาก จุดรับแรงยึดต่ำ ถังก๊าซอาจจะโยกคลอนได้ ถ้าได้รับแรงสั่นสะเทือนมากๆ หรือแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ การใช้น็อต และแหวน อาจทำให้ตัวถังฉีกขาดได้ทันที)
2. ยางรองหน้าแปลนยึด ใช้ยางแข็งๆ ขนาดความหนา 2 มิลขึ้นไป รองทั้งบน และล่าง ยางนี้จะเป็นการช่วยลดความเสียหายของตัวถัง และเสียงดังในกรณีน็อตยึดเกิดคลายตัว และป้องกันน้ำเข้ารถ
3. น็อตยึด ควรใช้น็อต ขนาด 14 – 17 มิลิเมตรขึ้นไป ขนาดความแข็งที่ใช้กับรถยนต์ ไม่ควรใช้น็อตก่อสร้าง
4. เมื่อเจาะรูยึดแล้ว ต้องทำการพ่นสีกันสนิม หรือทาสีกันสนิม เพื่อป้องกันการตัวถังรถผุ
5. ถังเมื่อยึดเรียบร้อยแล้ว ต้องไม่มีอาการโยกไปมา ต้องเป็นชิ้นเดียวกับตัวถังรถยนต์มากที่สุด
6. เหล็กฉากยึดถังก๊าซควรใช้เหล็กฉากที่มีความกว้าง 2- 3 นิ้ว หนาๆไม่ต่ำกว่า 3 มิลิเมตร
7. หลังจากติดตั้งถังแล้ว ยางอะไหล่ต้องสามารถยกถอดได้ตามปกติ โดยการสร้างขายึดถังให้สูงขึ้น
มาตรฐานการติดตั้งถัง
เมื่อทำการยึดถังเสร็จแล้ว ถังต้องรับแรง G (แรงกระทำ หรือแรงกด นับจาก 1G คือแรงโน้มถ่วงของโลก) ด้านหน้า – หลัง ที่ 20 G, ด้านข้างที่ 8 G, และด้านบน-ล่าง 4.5G เป็นอย่างน้อย (ช่างที่ขนส่งจะใช้วิธีดันที่ถังแรงๆ ถ้ามีการโยกคลอนจะถือว่าติดตั้งไม่ผ่าน)
รูปแสดงการประกอบมัลติวาล์ว และชุดลูกลอยเข้ากับถังก๊าซ
STEP 3
ประกอบชุดมัลติวาล์ว
ส่วนประกอบของมัลติวาล์ว หรือวาล์วเปิด-ปิด ก๊าซควบคุมด้วยไฟฟ้า มีข้อดีกว่าวาล์วธรรมดาตรงที่เมื่อเครื่องยนต์ดับ Sw Gas จะส่งสัญญาณมาตัดการจ่ายก๊าซที่ถังทันที หรือถ้าเกิดแก๊สรั่วกะทันหันจะมีระบบตัดการจ่ายก๊าซ พร้อมตัวระบายไอแรงดันเกิน ในกรณีที่อุปกรณ์เติมเกิดความผิดพลาด หรือถังได้รับความร้อนสูงๆ เช่นจอดรถตากแดดร้อนจัด (แก็สจะเกิดการขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน) หรือไฟไหม้ และห้องระบายก๊าซแบบมองเห็นเกจ์วัดระดับไม่ต้องถอดเข้าออกบ่อยๆ
การติดตั้ง
1 .นำโอริงหม้อระบายก๊าซ ใส่ก่อน ตามด้วยหม้อพลาสติกห้องกั้นกลิ่นชั้นล่าง
2. ประกอบชุดมัลติวาล์วเข้ากับถัง สังเกตว่าตัววัดระดับน้ำแก็สหรือลูกลอย จะต้องอยู่ด้านล่างต่ำสุดเสมอ (ก๊าซเมื่อถูกอัดอยู่ในถังจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เหมือนกับไฟแช็ค) ขันน็อตยึดรอบที่ละตัว แบบทแยงมุมตรงข้ามกันทีละน้อย ซ้ำไปซ้ำมาจนน็อตแน่ครบทุกตัว
รูปแสดงตำแหน่งการเจาะ ยึดติดท่อระบายไอปากฉลามเข้ากับรถ และตำแหน่งปากฉลามใต้ท้องรถเพื่อรับลมระบาย STEP 4
ประกอบท่อระบายไอ
ท่อระบายไอมีส่วนสำคัญในการระบายไอก๊าซที่รั่วซึม หรือในกรณีฉุกเฉินแรงดันเกิน ลิ้นระบายไอทำงาน ต้องระบายก๊าซออกไปภายนอกรถ ในชุดประกอบด้วย ห้องระบายไอพลาสติกใส ท่อโปโล หรือท่อระบายไอแบบย่นอย่างดี และท่อระบายยึดตัวถังแบบปากฉลาม ปกติก๊าซจะมีการรั่วซึมได้จากหลายๆจุด เช่นโอริงมัลติวาล์ว ฟิตติ้งข้อต่อต่างๆ ลิ้นระบายไอ เกลียวข้อต่อ แบบซึมทีละน้อย แต่ถ้ามากเกินไป และมีก๊าซรั่วเข้ามาในรถ จนมีความเข้มข้นได้ที่ อาจจะเกิดการจุดประกายไฟกับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในรถ จึงต้องมีการระบายก๊าซออกภายนอกตัวถังรถ อุปกรณ์ตัวนี้จึงมีส่วนสำคัญมาก
การติดตั้ง
1. เจาะรูตัวถังเพื่อยึดท่อระบายไอแบบปากฉลาม ด้วยโอซอร์ว หันปากฉลามด้านหนึ่งให้รับลมที่เข้ามาด้านหน้ารถ และอีกด้านหนึ่งออกด้านหลังรถ เพื่อให้ลมที่วิ่งผ่านใต้ท้องรถมีส่วนในการช่วยระบายไอที่รั่วซึม ยึดน็อตติด แล้วซีลด้วยกาวซิลิโคนจนมิดชิด
2. ท่อโปโลจากห้องระบายไอ ถึงท่อปากฉลามต้องยึดให้แน่นหนา ด้วยเข็มขัดรัด ให้แน่น หรือใช้กาวซิลิโคน ทารอบก่อนสวมท่อ
มาตรฐานการยึดท่อระบายไอ คือต้องสามารถป้องกันน้ำได้ มาตรฐานจาก ห้องระบายไอถึงท่อปากฉลามในแนวดิ่งสูง 1 เมตรต้องไม่มีการรั่วหรือหลุด (ปกติช่างที่ขนส่งจะใช้วิธีดึงที่ท่อรัดระบายไอแรงๆ ถ้าหลุดจะถือว่าตรวจไม่ผ่านทันที
รูปแสดงตำแหน่งการยึดหม้อต้ม แล